สะท้อน เมียนมา เชิงลึก
โดย C.J. Pong
เมื่อวันที่17 สิงหาคม 2558 ผู้เขียนได้รับเชิญจากคุณณรงค์ศักดิ์ สุนทรฟิล์มซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดสัมมนา “Myanmar Insight Seminar “ จัดโดยสมาคมนักธุรกิจไทยในประเทศเมียนมา( คุณสรศักดิ์ กีรติโชคชัยกุล นายกสมาคมฯ)ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้งที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมสัมมนาเต็มห้อง คาดว่ามีประมาณ 600-700 ท่าน
ประธานที่มากล่าวเปิด คือคุณ ดอน ปรมัตถ์วินัย (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว) และมี วิทยากรหลายท่าน เช่น คุณชุตินทร คงศักดิ์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ , คุณ พิษณุ สุวรรณะชฎเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง , คุณ คเนศร์ บูรณสิน ผจก. ธนาคารกรุงเทพสาขาย่างกุ้ง, คุณ สิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ. มิลล์คอนสตีลจำกัด (มหาชน) เป็นต้น
ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงข้อมูล Fact & Figureของเมียนมาท่านหาอ่านได้จากตามสื่อต่างๆเช่นที่กระทรวง การต่างประเทศ , สถานทูตไทยในย่างกุ้ง
การสัมมนาครั้งนี้ ที่น่าสนใจ เช่น ท่านทูตฯ พิษณุ ได้ ฟันธงหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโอกาสความสัมพันธ์ไทยกับเมียนมา ดีเลิศกว่าในอดีตนโยบายเอื้ออำนวยกับนักลงทุนต่างประเทศของเมียนมาถือเป็นยุทธศาสตร์และเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยะไข่ ติละวา และทวายเป็นแก้ว3ดวงที่จะดึง
ทางสมาคมฯได้สรุป 10 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนลุยตลาดเมียนมา
1) ตรวจสอบความพร้อมของท่านก่อนเงินทุน ที่ดิน บุคลากร หุ้นส่วนที่ไว้ใจ
2) รู้รอบกฎหมาย ภาษี บัญชีและกฎข้อบังคับต่างๆในการทำธุรกิจ
3) ศึกษาตลาดเชิงลึก เก็บข้อมูลการลงทุนการตลาด แล้วนำมาวางกลยุทธการตลาด
4) ประเพณี วัฒนธรรมธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้า
5) โอกาสทองของธุรกิจทางบริการสาธารณสุข การศึกษาการเงิน ประกันภัย ความงาม กีฬา เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต อาหาร บันเทิง โรงแรมท่องเที่ยว ค้าขายชายแดน ซ่อมบำรุง ขนส่ง (แล้วการพิมพ์ทำไม่เอ่ยถึง??)
6) รอบรู้ระบบขนส่ง โลจิสติกส์ภาคปฏิบัติ
7) การย้ายฐานผลิตในเมียนมาดีจริงหรือค่าแรงถูกเป็นปัจจัยหรือไม่ ประสิทธิภาพต้องคำนึงด้วย สิทธิทางภาษีGSP ข้อจำกัดต่างๆ ปัจจัยการเช่าที่ดิน ความพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
8) เคล็ดลับการติดต่อราชการ know-who และ know-how ควรใช้ให้ถูกคน
9) หลีกเลี่ยงความอ่อนไหวทางการเมือง ชนกลุ่มน้อย การฟอกเงิน ชาติพันธุ์ ศาสนา
10) ผลตอบแทนทางสังคม CSR การช่วยเหลือภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมาไทยเราทำได้ดีประทับใจให้กับคนในเมียนมา
คิดแล้วถ้าพร้อมอยากลงทุน...ก็ทำการบ้านหาข้อมูล....แล้วตัดสินใจ
โอกาสมาพร้อมกับความเสี่ยง.จริงไหม???ครับ
วิทยากรอีกท่านหนึ่งในงานนี้ คือคุณสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล บ. มิลล์คอนสตีลคนหนุ่มกล้าหาญ ท่านมาเล่าแบ่งปัน
ประสบการณ์ในการลงทุนในเมียนมา ถูกนำไปลงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
คุณสิทธิชัย ได้เล่าว่า เขาศึกษาข้อมูลก่อนเข้าลงทุนข้อมูลการใช้เหล็กเส้นน้อยกว่าไทย16เท่า (ปัจจุบันไทยเราใช้เหล็กเส้น18ล้านตัน)ในเมียนมามีแนวโน้มการใช้เหล็กเส้น เพื่อการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย สำนักงาน สาธารณูปโภค อย่าง มหาศาล มีตัวเลขและสถิติ จึงตัดสินใจเข้าหุ้นกับ Thiha group โดยเข้าไปลงทุนสร้างโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ติละวา ได้ขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการการลงทุนเมียนมา(MIC) ได้รับประโยชน์มากกว่าอย่างชัดเจน จากปกติเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลระยะแรกเพียง5ปีแต่ลงทุนในติละวาและส่งออกไม่ต่ำกว่า75% จะได้รับสิทธิ7ปีและระยะที่ 2 ยังได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี50% อีก5ปีและระยะที่ 3 อีก5ปี รวมเป็น17 ปีและสิทธิการเช่าที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษยังอยู่ที่50 ปีและต่อได้อีก25 ปีรวมแล้ว75 ปีสูงกว่าการเช่าที่ดินจากการขอการสนับสนุนโดยMCIแต่นอกเขตเศรษฐกิจพิเศษ ติละวา ได้เพียง 50 ปีต่ออายุได้ครั้งละ10 ปี อีก2 ครั้งรวมเป็น70 ปีเท่านั้นและที่สำคัญคือระยะทางการขนส่งจากติละวาไปย่างกุ้งเพียง23กม.
แล้วเรื่องไฟฟ้าดับๆติดๆมีผลต่อการผลิตในเมียนมาทั่วไป แต่ในติละวาได้สร้างโรงไฟฟ้าขนาด33เมกะวัตต์และเพิ่มเป็น50เมกะวัตต์ทำให้มั่นใจว่ามีไฟฟ้าใช้ได้เพียงพอแม้ว่าเข้าไปลงทุนกว่า2ปี( ตอนไปลงทุนที่ดินไร่ละ 5ล้านบาท) แต่กว่าไม่วายที่มีเรื่องให้ท้าทายตลอด คือ
1) เข้าไปลงทุนในติละวาต้องขออนุญาตจำนวนมากใบอนุญาตลงทุน การก่อสร้าง การนำเข้า การจัดรายงานสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ
2) งบก่อสร้างเดิมตั้งไว้ 22 ล้านเหรียญ รวมค่าตอกเสาเข็ม เอาไม่อยู่ค่าก่อสร้างเดิมคำนวณไว้ตารางเมตรละ 8,500บาท กลายเป็น22,000 บาทระยะเวลาใช้ก่อสร้างล่าช้าเนื่องจากฝนชุกต้องจ้างคนงานก่อสร้างมากขึ้น
กุญแจแห่งความราบลื่นในการลงทุนในเมียนมาสรุปได้มา5ข้อ
1) ต้องตั้งใจที่จะไปลงทุนจริงๆ
2) ต้องศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจทั้งคน กฎหมายวัฒนธรรม ตลาดเป็นอย่างดี ถ้าไม่เข้าใจจะกลายเป็นความเสี่ยง
3) ต้องมีหุ้นส่วนท้องถิ่นที่ไว้ใจได้ เป็นคนมีเส้นใหญ่
4) มีความพร้อมในเรื่องปัจจัย เงินทุนความรู้ในอุตสาหกรรมที่ทำอยู่
ผู้เขียนไม่ได้อยู่ฟังทุกวิทยากร ทุกท่านส่วนอุตสาหกรรมการพิมพ์ของเรามีหลายบริษัทเข้าไปลงทุนแล้ว วงการพิมพ์เราน่าจะเชิญ คุณณรงค์ศักดิ์แห่งสุนทรฟิล์ม .ได้เข้าไปลงทุนมากว่า4ปีแล้ว น่าจะให้ให้ความรู้ ข้อมูลได้ดีกว่าใครๆ มาแก่พวกเราได้เต็มที่กว่า